ยินดีต้อนรับสู่KM

วันพุธที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

หลักธรรมาภิบาล

            หลักธรรมาภิบาล 6 หลัก
ที่สอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 (ยกเลิก) ดังนี้


(1) หลักนิติธรรมหมายถึง การตรากฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบให้ทันสมัย ถูกต้องเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับ ยินยอมพร้อมใจที่จะปฏิบัติตามกฎ กติกาที่ตกลงกันไว้อย่างเคร่งครัดโดยคำนึงถึง สิทธิเสรีภาพ

(2) หลักคุณธรรม หมายถึงการยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม ซื่อสัตย์ จริงใจ ขยันอดทน มีระเบียบวินัย ตามจรรยาบรรณข้าราชการ มีความชอบธรรมในการใช้อำนาจ

(3) หลักความโปร่งใส หมายถึง มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวกและมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องชัดเจน

(4) หลักการมีส่วนร่วม หมายถึง เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนรับรู้และเสนอความคิดเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศไม่ว่าด้วยการแสดงความคิดเห็น การไต่สวนสาธารณะ การประชาพิจารณ์ และการแสดงประชามติ

(5) หลักความรับผิดชอบหมายถึง การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมืองและกระตือรือร้นในการแก้ไขปัญหา ตลอดจนเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่างและความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทำของตน

(6) หลักความคุ้มค่าหมายถึงการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวมโดยการรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัดใช้ของอย่างคุ้มค่า

สรุปว่าในการบริหารองค์กรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน ควรใช้หลักธรรมาภิบาลเป็นเครื่องมือเพื่อปรับวิธีการทำงานให้สนับสนุนเกื้อกูลกัน เชื่อว่าความพยายามนำหลักธรรมาภิบาลเข้ามาประยุกต์ใช้ภาคราชการอาจช่วยบรรเทาปัญหาประสิทธิภาพในองค์กรที่สั่งสมมา ให้เป็นไปตามครรลองธรรม มีการบริหารราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบต่อสังคม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น