ยินดีต้อนรับสู่KM

วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

จิตสำนึกในเรื่องธรรมาภิบาล

                           แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ได้กำหนดยุทธศาสตร์สู่ความพอเพียง 5 ด้าน คือ คน ชุมชน โครงสร้างเศรษฐกิจ การจัดการทรัพยากร และการสร้างธรรมาภิบาล ในยุทธศาสตร์ที่ห้า การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศสู่ความยั่งยืน การปรับระบบบริหารจัดการภาครัฐให้สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาลมากขึ้น ปรับโครงสร้างกลไก และกระจายการจัดสรรทรัพยากรภาครัฐไปสู่ภูมิภาค ท้องถิ่น และชุมชน กระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถรับผิดชอบจัดบริการสาธารณะตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และสร้างความเจริญเศรษฐกิจ สังคม แก่ท้องถิ่น ชุมชนได้อย่างแท้จริง ส่งเสริมความเข้มแข็งของภาคประชาชนให้เข้าร่วมในการบริหารจัดการประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมมือระหว่างภาคราชการ บ้าน วัด โรงเรียน และสื่อในการปลูกฝังจิตสำนึกในเรื่องธรรมาภิบาล ส่งเสริมภาคธุรกิจเอกชนให้เกิดความเข้มแข็งสุจริตและมีธรรมาภิบาลเพิ่มขึ้น

การวิจัยเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาล

              การวิจัยเรื่องการบริหารงานเทศบาลตามหลักธรรมาภิบาล มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ
(1) ระดับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาล
(2)ความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองและเทศบาลนคร
(3)แนวคิดในการพัฒนาตัวชี้วัดธรรมาภิบาลของเทศบาล
โดยศึกษาเทศบาลนครและเทศบาลเมือง จำนวน 10 แห่ง พบว่า
(1) การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาล ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักความรับผิดชอบ คุณธรรมและจริยธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วมและหลักความคุ้มค่า อยู่ในระดับปานกลาง (2) การบริหารงานตามหลักธรรมมาภิบาลของเทศบาลเมืองและเทศบาลนคร ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่ในรายด้านพบว่าหลักการมีส่วนร่วมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
(3)แนวคิดในการพัฒนาตัวชี้วัดธรรมาภิบาลของเทศบาลมีแนวคิดเพิ่มเติม 6 หลัก รวมจำนวน 31 ตัวชี้วัด



ธรรมาภิบาล

              ความหมายของธรรมาภิบาล มาจากคำว่า Good Governance ในทางการบริหารภาคราชการและบรรษัทภิบาล (corporate governance) เป็นแนวคิดการบริหารภาคเอกชนที่ต่างต้องมุ่งเน้นความถูกต้องดีงาม ดังความหมายของธรรมาภิบาล

รัฐธรรมนูญกับธรรมาภิบาล

                   ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ซึ่งมีสาระสำคัญของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไว้ในมาตรา 74 บุคคลใดที่เป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างหน่วยราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม อำนวยความสะดวกและให้บริการแก่ประชาชน ตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มาตรา 78 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (ข้อ2) จัดระบบการบริหารราชการส่วนกลางส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น ให้มีขอบเขตอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบที่ชัดเจนเหมาะสมแก่การพัฒนาประเทศ และสนับสนุนให้จังหวัดมีแผนและงบประมาณเพื่อพัฒนาจังหวัด เพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ (ข้อ3) กระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจ ในกิจการของท้องถิ่นได้เอง ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ พัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น (ข้อ4) พัฒนาระบบงานภาครัฐ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ คุณธรรมและจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ควบคู่ไปกับการปรับปรุงรูปแบบและวิธีการทำงาน เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐใช้หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการ (ข้อ5) จัดระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่นเพื่อให้การจัดทำและการให้บริการสาธารณะเป็นไปอย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน (ข้อ6) ดำเนินการให้หน่วยงานทางกฎหมายที่มีหน้าที่ให้ความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐตามกฎหมายและตรวจสอบการตรากฎหมายของรัฐ ดำเนินการอย่างเป็นอิสระ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปตามหลักนิติธรรม (ข้อ7) จัดให้มีแผนพัฒนาการเมืองรวมทั้งจัดให้มีสภาพัฒนาการเมืองที่มีความเป็นอิสระ เพื่อติดตามสอดส่องให้มีการปฏิบัติตามแผนดังกล่าวอย่างเคร่งครัด

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การประเมินบุคคล

       การประเมินบุคคล

ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบราชการไทย 2546-2550

                ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบราชการไทย 2546-2550 (2549:ออนไลน์) ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) ซึ่งมีภารกิจพัฒนาระบบราชการให้มีความเข้มแข็ง ทันสมัย สอดรับกับการบริหารภาครัฐแนวใหม่ที่เน้นเรื่องผลสัมฤทธิ์ของงาน มีหน้าที่
(1) เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานในหน้าที่
(2) ศึกษา วิเคราะห์ เสนอความเห็นเกี่ยวกับการแบ่งส่วนราชการและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการรวมทั้งตรวจสอบดูแลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(3) ชี้แจง ทำความเข้าใจ แนะนำ และฝึกอบรมเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ
(4) ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
(5) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการพัฒนาและการจัดระบบราชการและงานของรัฐ
(6) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

การบริหารราชการที่ดี

                       พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารราชการที่ดี พ.ศ.2546