ยินดีต้อนรับสู่KM

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การบริหารราชการที่ดี

                       พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารราชการที่ดี พ.ศ.2546
 (พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 2546:ออนไลน์) เป็นแนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมเกี่ยวกับการพัฒนาการปฏิบัติงานในภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ แบ่งเป็น 8 หมวด มีสาระที่สำคัญประกอบด้วย หมวด 1 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หมวด 2 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน หมายถึง การปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ความสงบและ ปลอดภัยของสังคมส่วนรวมตลอดจนประโยชน์สูงสุดของประเทศ หมวด 3การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐให้ส่วนราชการปฏิบัติโดยก่อนจะดำเนินการตามภารกิจใดต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้ล่วงหน้าระบุขั้นตอนระยะเวลาและงบประมาณที่จะต้องใช้ในการดำเนินการของแต่ละขั้นตอน หมวด 4 การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐโดยส่วนราชการต้องกำหนดเป้าหมายแผนการทำงาน ระยะเวลาแล้วเสร็จ และงบประมาณที่จะต้องใช้ในแต่ละงานหรือโครงการและต้องเผยแพร่ให้ข้าราชการและประชาชนทราบทั่วกันด้วย หมวด 5 การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน หมวด 6 การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ ส่วนราชการมีหน้าที่สำรวจตรวจสอบ และทบทวนกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศที่อยู่ในความรับผิดรับชอบ หมวด 7การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน เมื่อส่วนราชการใดได้รับการติดต่อสอบถามเป็นหนังสือจากประชาชนหรือจากส่วนราชการด้วยกันเกี่ยวกับงานที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการนั้นจะต้องตอบคำถามหรือแจ้งการดำเนินการให้ทราบภายในสิบวันหรือภายในกำหนดเวลาที่กำหนด หมวด 8  การประเมินผลการปฏิบัติราชการ เมื่อส่วนราชการได้ดำเนินงานไปตามเป้าหมาย สามารถเพิ่มผลงานและผลสัมฤทธิ์โดยไม่เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายและคุ้มค่าต่อภารกิจของรัฐ หรือสามารถดำเนินการตามแผนการลดค่าใช้จ่ายต่อหน่วย ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอคณะรัฐมนตรีจัดสรรเงินรางวัล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น